วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

week5 : เรื่องราวที่นักเรียนสนใจ (2)

สวัสดีค่ะกลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ คราวที่แล้วเราพูดถึงงานอดิเรกและการ์ตูนในดวงใจกันไปแล้วและงานอดิเรกของคนเราก็คงไม่ได้มีแค่อย่างเดียวหรอก วันนี้ก็เลยจะมาพูดถึงงานอดิเรกอีกงานที่ฉันชอบทำไม่น้อยไปกว่าการดูหนังเลย สิ่งนั้นก็คือการอ่านหนังสือ แต่คงไม่ใช่หนังสือเรียนแน่นอน 555+ หนังสือที่ฉันชอบอ่านก็คือหนังสือนิยาย หนังสือการ์ตูน ซึ่งวันนี้ฉันจะมาแนะนำหนังสือเรื่องที่ฉันอ่านแล้วชอบมากๆ
บุพเพสันนิวาส

คำโปรยหลังปก :




เรื่องย่อ:
 เรื่องนี้จะเกี่ยวกับการย้อนอดีตไปในกรุงศรีอยุธยา สมัยของสมเด็จพระนารายณ์     เกศสุรางค์เธอเป็นหญิงสาวที่อ้วนท้วม ไม่ได้สวยมากนัก เธอได้รับอุบัติเหตุรถชนจนทำให้เสียชีวิต แต่วิญญาณของเธอนั้นได้ย้อนไปอยู่ในอดีตและย้ายไปอยู่ในร่างของแม่หญิงการะเกดซึ่งมีรูปร่างดี เป็นหญิงงามของเมืองก็ว่าได้ซึ่งแตกต่างจากเธอในร่างเก่ามาก แต่ทว่าเธอผู้นี้กับมีนิสัยร้ายกาจ และไม่มีใครชอบเธอเลยสักคน รวมไปถึงคู่หมายของเธอด้วย นั่นคือหมื่นสุนทรเทวา และก่อนที่เธอจะได้อยู่ในร่างของหญิงงามนี้เธอก็ได้เจอกับเจ้าของร่างคนเก่าเขาขอให้เธอทำความดีชดใช้ความผิดที่ได้ทำไว้ เกศสุรางค์จึงเปลี่ยนแม่หญิงการะเกดจากที่มีดีแต่ภายนอก ก็ทำให้มีดีทั้งภายในภายนอก และนี่ทำให้เธอมีชื่อเสียงเลื่องลือไปไกลเพราะนิสัยที่ไม่ค่อยจะเหมือนหญิงในสมัยก่อน อย่างที่เธอกล้าเกินหญิง เด็ดเดี่ยวเหมือนชาย ฉลาดเกินกว่าที่หญิงในสมัยนั้นจะเป็น และตรงนี้แหละทำให้หมื่นสุนทรเทวาจากที่รู้สึกเกลียดเปลี่ยนมาเป็นชอบมากขึ้นและมากขึ้น แต่เรื่องก็ยังไม่จบเพียงแค่นี้เพราะยังมีปัญหาที่เกี่ยวกับความขัดแย้งกับชาวต่างชาติและการแย่งอำนาจในพระราชวงศ์ แม้ว่าเธอจะรู้ว่าอดีตเป็นเช่นไรแต่เธอก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนมันได้ และสิ่งที่พาเธอมาที่นี่ จริงแล้วไม่ใช่เพียงแค่เรื่องบังเอิญแต่เป็นเพราะพรหมลิขิตที่มีต่อชายคนหนึ่งทำให้เป็นคู่ครองทุกชาติไป

ความรู้สึกหลังอ่าน :
อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วอินไปกับมันมาก เนื้อเรื่องที่สนุกและภาษาสวยอ่านแล้วไม่รู้สึกขัด แถมยังได้รู้ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนเหมือนได้ไปอยู่ในที่แห่งนั้นจริงๆ
นางเอกในเรื่องนี้อ่านแล้วรู้สึกประทับใจมาก เพราะเป็นคนฉลาด เอาตัวรอดเก่ง เป็นคนที่แสบมาก ในเรื่องนี้ตอนที่ย้อนไปในอดีตทำให้เธอเหมือนเป็นคงหลงยุคไปเลยทำอะไรก็แปลกกว่าชาวบ้านเขา ส่วนมากตนสมัยก่อนผู้หญิงจะเรียบน้อยกับเกศสุรางค์คนนี้นี่คนละเรื่องเลย แล้วนางเอกในเรื่องนี้คือดูเท่มาก เอาเรื่องหลายๆอย่างในปัจจุบันมาใช้ที่นี่ จนคนงงไปหมดว่าทำอะไรแต่ก็ทำประโยชน์ได้มาก อีกอย่างหนึ่งก็คือการที่พูดภาษาฝรั่งเศสได้ อ่านหนังสือและเขียนได้ ทั้งๆที่แม่หญิงการะเกดไม่เคยเรียนหนังสือ แต่เกศสุรางค์กับทำได้แทบทุกอย่าง แล้วก็นิสันนางเอกเรื่องนี้คือดีมาก มีตอนซึ้งๆหลายตอนอ่านแล้วกินใจสุด
พระเอกในเรื่องนี้ ส่วนมากคนที่ชอบอ่านนิยายจะต้องชอบคนแบบพระเอกมากๆแน่นอน เพราะเป็นคนเย็นชา นิ่งๆ ขรึมๆ เงียบ ดูดี แต่พอบทจะหวานนี่มดขึ้นแน่นอน พระเอกเรื่องนี้ปากหนักมาก ตอนแรกๆไม่ค่อยแสดงอารมณ์อะไรเท่าไร แถมยังไม่ค่อยชอบแม่การะเกดอีกด้วยแต่พอเกศสุรางค์เข้ามาอยู่ในร่างนี่กลับใจแทบไม่ทันเลย

เรื่องนี้เป็นหนังสือที่สนุกมากจริงๆ ใครที่ชอบอ่านนิยายเรื่องนี้ไม่ควรพลาดเลยเป็นเรื่องที่ควรค่าแก่การเก็บไว้มาก อ่านเล่มนี้แล้วครบทุกอรรถรส

ที่มา :

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

week4:โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (java)

ความเป็นมาของภาษาจาวา:

Java (จาวา) คือภาษาโปรแกรมที่ไว้ใช้ในการเขียนคำสั่งของคอมพิวเตอร์ ถูกพัฒนาโดยเจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ในบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystems Inc.) ในปี ค.ศ. 1991 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกรีน (The Green Project) และได้เริ่มนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในปี ค.ศ.1995 เหตุผลที่สร้างภาษจาวาขึ้นมาก็เพื่อนำมาแทนภาษาซีพลัสพลัส (c++) ซึ่งรูปแบบใหม่ที่เพิ่มเข้ามานั่นมีลักษณะคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C)
เจมส์ กอสลิง
แต่เดิมนั้นเราเรียกชื่อภาษานี้ใช้ชื่อว่า โอ๊ก (Oak) ตั้งตามต้นโอ๊กที่อยู่ใกล้ที่ทำงานของเจมส์ กอสลิง แต่ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเพราะเกิดปัญหาทางด้านลิขสิทธิ์ซึ่งก็ได้เปลี่ยนเป็นชื่อของกาแฟแทน นั่นก็คือ จาวาจุดเด่นของมันคือผู้เขียนโปรแกรมสามารถใช้หลักการของ Object-Oriented Programming มาพัฒนาโปรแกรมของตนเองด้วย Java ได้
ภาษาจาวาใช้กับการเขียนโปรแกรมที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ(OOP:Object-Oriented Programming)* โปรแกรมที่เขียนขึ้นถูกสร้างภายในคลาส(Class) โปรแกรมเหล่านั้นเรียกว่า Method หรือ Behavior โดยปกติจะเรียกแต่ละ Class ว่า Object โดยแต่ละ Object มีพฤติกรรมมากมาย โปรแกรมที่สมบูรณ์จะเกิดจากหลาย object หรือหลาย Class มารวมกัน โดยแต่ละ Class จะมี Method หรือ Behavior แตกต่างกันไป

ภาษาจาวาเป็นภาษาที่ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์ม (platform independent)JDK 1.0 ประกาศใช้เมื่อปี1996JDK เวอร์ชันปัจจุบันคือ Java 2 วิวัฒนาการของภาษาจาวาจากรุ่นแรกถึงจาวา1.5 ในปีค.ศ. 1995 เริ่มนำออกมาใช้ในครั้งแรก ต่อมาปีค.ศ. 1997 ปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยเพิ่ม Inner Class ในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1998 รหัส Playground ด้านจาวาแพลตฟอร์มได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ใน API และJVM (API สำคัญที่เพิ่มมาคือ Java Collections Framework และ Swing; ส่วนใน JVM เพิ่ม JIT Compiler) แต่ตัวภาษาจาวานั้น เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย (เพิ่มคีย์เวิร์ด strictfp) และทั้งหมดถูกเรียกชื่อใหม่ว่า จาวา 2 แต่ระบบเลขรุ่นยังไม่เปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 ได้แก้ไข รหัส Kestrel เล็กน้อย เมื่อวันที่13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002 รหัส Merlin เป็นรุ่นที่ถูกใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน (ซึ่งก็คือในปี ค.ศ. 2005) และเมื่อวันที่29 กันยายน ค.ศ. 2004 รหัส Tiger (เดิมทีนับเป็น 1.5) เพิ่มคุณสมบัติใหม่ในภาษาจาวา เช่น Annotations ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่านำมาจากภาษาซีชาร์ปของบริษัทไมโครซอฟท์, Enumerations, Varargs, Enhanced for loop, Autoboxing, และที่สำคัญคือ Generics
*การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP = Object-Oriented Programming) คือการเขียนโปรแกรมที่ประกอบด้วยกลุ่มของวัตถุ(Objects) แต่ละวัตถุจะจัดเป็นกลุ่มในรูปของคลาส ซึ่งแต่ละคลาสอาจมีคุณสมบัติ การปกป้อง (Encapsulation)คือการรวมกลุ่มของข้อมูลและกลุ่มของโปรแกรม เพื่อการปกป้อง และเลือกตอบสนอง, การสืบทอด (Inheritance) คือยอมให้นำไปใช้หรือเขียนขึ้นมาทดแทนของเดิม,     การพ้องรูป (Polymorphism) มี 2 รูปแบบ คือ Overloading มีชื่อโปรแกรมเดียวกัน แต่รายการตัวแปร (Parameter List) ต่างกัน และOverriding มีชื่อโปรแกรมและตัวแปรเหมือนกัน เพื่อเขียนbehaviorขึ้นมาใหม่

ข้อดีและข้อเสียของภาษาจาวา

            ข้อดีของภาษาจาวาคือเป็นภาษาโปรแกรมที่เข้าใจง่าย มีขนาดเล็ก มีวิธีการเขียนที่ไม่ซับซ้อนมากจนเกินไป มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง โปรแกรมที่เขียนจากภาษาจาวาสามารถใช้ในระบบที่แตกต่างกันได้ โดยไม่ต้องแก้ไขโปรแกรม อย่างเช่น เราเขียนโปรแกรมบนเครื่อง sun เราก็สามารถคอมไพล์และรันบนพีซีเครื่องธรรมดาได้เลย ภาษาจาวาใช้งานง่ายและลดความผิดพลาดได้มากกว่าภาษาซีพลัสพลัส เพราะมีจำนวนโค๊ดที่น้อยกว่า เป็นภาษาที่สนับสนุนการเขียนโปรแกรมแบบ opp ซึ่งเหมาะสำหรับพัฒนาระบบที่มีความซับซ้อน ช่วยให้เราสามารถใช้คำหรือชื่อ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบงานนั้นมาใช้ในการออกแบบโปรแกรมได้ มีความปลอดภัยที่สูงอีกด้วย เพราะ Java มี security ทั้ง low level และ high level ได้แก่ electronic signature, public andprivate key management, access control และ certificates และมีมี IDE, application server, และ library ต่างๆมากมาย ที่เราสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ตามมันก็ยังมีข้อเสียคือมันทำงานได้ช้ามากๆ เพราะว่าการเขียนโปรแกรมภาษาจาวานั้นจะถูกแปลงเป็นภาษากลางก่อน แล้วเมื่อโปรแกรมทำงานตามคำสั่งของภาษากลางนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่งทีล่ะคำสั่ง ทำให้ทำงานช้ากว่า native code (โปรแกรมที่compileให้อยู่ในรูปของภาษาเครื่อง) ดังนั้นโปรแกรมที่ต้องการความเร็วในการทำงานจึงไม่นิยมเขียนด้วยจาวา

เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java จะต้องมีโปรแกรมที่รวมคำสั่งต่างๆ ให้สามารถคอมไพล์ และรันโปรแกรมได้ที่เรียกว่า Java Virtual Machine” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเขียน และพัฒนาโปรแกรม Java Virtual Machine จะอยู่ในโปรแกรมชุดพัฒนาจาวาที่เรียกว่า JDK(Java Development Kit) เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท Sun Microsystems ที่ใช้บริการฟรีบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งประกอบด้วยคำสั่งต่างๆ และเครื่องมือที่ใช้ในการคอมไพล์ และรันโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา Java โดยการดาวน์โหลด (Download) โปรแกรมชุดพัฒนาจาวา JDK ได้ที่เว็บไซต์ www.java.sun.com ซึ่งจะมีโปรแกรม JDK เวอร์ชันใหม่ตลอดเวลา และเลือกระบบปฏิบัติการที่ต้องการใช้ หลังจากนั้นได้ทำการติดตั้ง และลงโปรแกรมให้เรียบร้อย เครื่องมือ และคำสั่งที่ใช้ในการสร้างโปรแกรม Javaจะถูกเก็บไว้ในโฟลเดอร์ของ Javaที่ชื่อ bin เช่น C:\java\binเป็นต้น ประกอบด้วยคำสั่งที่สำคัญ ดังนี้
ไฟล์
คำอธิบาย
javac.exe
คอมไพล์เลอร์ (Compiler) ของ Java เป็นคำสั่งที่ใช้คอมไฟล์ ตรวจสอบไวยากรณ์ของโปรแกรมโดยการแปลงไฟล์ซอร์สโค้ด ให้เป็นไฟล์ไบต์โค้ดที่เป็นคลาสของโปรแกรม
java.exe
อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) ของ Java เป็นคำสั่งที่ใช้ในการรันไฟล์ไบต์โค้ดที่คอมไพล์ แล้วให้ทำงานตามคำสั่งของโปรแกรม
appletviewer.exe
Applet Viewer เป็นคำสั่งที่ใช้ทดสอบและรันโปรแกรมแอปเพล็ต
javadoc.exe
ผลิตเอกสารของคำสั่ง API ใช้สร้างเอกสารของ Java API ในรูปแบบของ HTML จาก
ซอร์สโค้ดของ Java
javap.exe
การแยกและถอดไฟล์ของ Java และพิมพ์ออกมาเป็นตัวแทนของไบต์โค้ด (Bytecode)
jdb.exe
ดีบักเกอร์(Debugger) ของ Java ใช้ในการตรวจสอบข้อผิดพลาดในโปรแกรมพร้อมรายงานข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น


























รูปแบบของภาษา Java
ภาษา Java เป็นภาษาที่ไม่กำหนดแบบการเขียนโปรแกรมในแต่ละบรรทัด แต่ละบรรทัดสามารถเขียนคำสั่งได้หลายคำสั่งสามารถแทรกคำอธิบาย(comment) Javaเป็นภาษาที่บังคับอักขระตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก(Case Sensitiv) Javaมีตัวดำเนินการ(operators)หลายชนิด ให้ใช้งานนอกจากคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งที่ผู้ใช้สร้างขึ้นมาใหม่ อาจกำหนดเป็นตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวเล็กก็ได้ และสามารถเขียนชุดคำสั่งที่ประกอบด้วยตัวดำเนินการหลายตัวที่ต่างชนิดกันในชุดคำสั่งหนึ่งๆได้ โดยภาษาJavaจะจัดลำดับการประมวลผลตามลำดับการทำงานของตัวดำเนินการ
รูปแบบคำสั่ง(statements) Java คือ ส่วนประมวลผล(Execute) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา ทุกคำสั่งจะต้องจบด้วยเครื่องหมาย เซมิโคลอน( ; )
รูปแบบของ script   ในการเขียน script สามารถเขียน โดยในรูปแบบที่ 1 ได้โดยไม่ต้องระบุภาษาก็ได้ แต่ต้องเขียน tag ของ script ดังรูป
<Script>
JavaScript statements;
</Script>
<Script>
document.write(‘kittisak’);
</Script>
ในการเขียน script ตามรูปแบบที่ 2 โดยระบุภาษาเป็น javascript และเขียนใน tag ของ script ดังรูป
<Script Language=”JavaScript”>
JavaScript statements;
</Script>




คำสั่งแสดงผล single quote (‘ ‘)  ในการเขียนการแสดงผลข้อมูลที่อยู่หลังคำสั่ง document นั้นสามารถเขียนใช้เครื่องหมายในแบบ single quote (‘ ‘) ก็ได้ดังรูป
<Script Language=”JavaScript”>
document.write(‘kittisak’);
</Script>

การใช้HTMLร่วมกับscriptขึ้นบรรทัดใหม่ โดยใช้ <br>  การกำหนดให้ขึ้นบรรทัดใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้รูปแบบของ tag HTML คือ <br> โดยการใส่ไว้หลังคำสั่ง document อาจจะเป็นข้างหน้า หรือข้างหลังก็ได้
<Script Language=”JavaScript”>
document.write(‘kittisak<br;
document.write(‘<fontlor=”red”>khampud</font>’);
</Script>

Source Code  ใน Java จะมี Source Code เป็น File ที่มีนามสกุล เป็น *.java เมื่อ ผ่านการ Compile แล้วจะมี File เพิ่มมาเป็น File ที่มีนามสกุลเป็น *.class  System.out.println  (“….” ); เป็นคำสั่งที่ใช้การแสดงตัวอักษรซอร์สโค้ดโปรแกรมจาวาอยู่ในแฟ้มที่มีนามสกุล  java

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java
     ประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานทั้งหมด 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 สร้างโปรแกรมซอร์สโค้ด โดยการพิมพ์คำสั่งต่างๆ ตามหลักการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java โดยใช้เอดิเตอร์ (Editor) หรือโปรแกรมที่สามารถพิมพ์ข้อความ (Text Editor) และสามารถบันทึกไฟล์เป็นรหัสแอสกี (ASCII) ได้ เช่น โปรแกรม Notepad หรือ โปรแกรม Editplus เป็นต้น หลังจากเขียนโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องทำการบันทึกข้อมูลเป็นไฟล์ที่มีชื่อเดียวกันกับชื่อคลาสของ Java และใช้นามสกุลไฟล์เป็น java ตัวอย่างเช่น TestJava.java

           ขั้นตอนที่ 2 คอมไพล์โปรแกรมซอร์สโค้ด โดยการใช้คำสั่ง javac.exe ที่มากับการติดตั้ง JDK แล้ว มีรูปแบบคำสั่ง คือ javac  FileName.java เมื่อ FileName.java คือ ชื่อไฟล์ใดๆ ที่มีนามสกุล java  ถ้าไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ ผลลัพธ์ที่ได้จากการคอมไพล์ จะได้ไฟล์ไบต์โค้ดที่ชื่อเดียวกับชื่อคลาส ตัวอย่างเช่น  javac  TestJava.java หลังจากการคอมไพล์จะได้ไฟล์ TestJava.class ข้อสำคัญในการคอมไพล์ไฟล์ซอร์สโค้ด คือต้องพิมพ์ชื่อไฟล์พร้อมนามสกุลเป็น java เสมอ และต้องพิมพ์ชื่อไฟล์ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่หรืตัวเล็กให้ถูกต้องตามการตั้งชื่อคลาส 
ขั้นตอนที่ 3 ทำการรันโปรแกรม เพื่อดูผลลัพธ์ทางจอภาพโดยการรันไฟล์ไบต์โค้ด โดยการใช้คำสั่ง javac.exe ที่มากับการติดตั้ง JDK แล้วซึ่งมีรูปแบบคำสั่งคือ java  FileName เมื่อ FileName คือ ชื่อไฟล์ใดๆ ไม่ต้องมีนามสกุล
            ดังนั้นการรันโปรแกรมเพียงแค่พิมพ์ชื่อไฟล์ไม่ต้องพิมพ์นามสกุลของไฟล์ และต้องพิมพ์ชื่อไฟล์ด้วยตัวอักษรตัวใหญ่หรืตัวเล็กให้ถูกต้องตามชื่อคลาส  ตัวอย่างเช่น  java  TestJava  เมื่อ TestJava  คือชื่อไฟล์ TeatJava.class
                                   

            ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงก่อนเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java จะต้องทำขั้นตอนดังนี้
  1.ต้องตรวจสอบว่าในเครื่องคอมพิวเตอร์มี JDK (Java Development Kit) และโปรแกรมที่ใช้เขียนซอร์สโค้ด (SourceCode) เช่น โปรแกรม Notepad, โปรแกรม Editplus หรือไม่ ถ้าไม่มีโปรแกรมข้างต้น ต้องทำการติดตั้ง และลงโปรแกรมดังกล่าวให้เรียบร้อยก่อน
  2.ตรวจสอบโฟลเดอร์และไฟล์ของ JDK ที่ใช้ในการคอมไพล์ (compile) คือ javac.exe และรันโปรแกรม (run) คือ java.exe  ตัวอย่าง โฟลเดอร์ของไฟล์ java เช่น C:\j2sdk1.4.1_03\bin

  3. ทำการติดตั้งและแก้ไขโปรแกรม(Config)เครื่องมือในการเขียนโปรแกรม ด้วยโปรแกรมEditplusได้ ดังนี้
                  1. ไปทีเมนู  Tools เลือก Preferences หรือไปทีเมนู  Tools เลือก  Configure User Tools…

                2. ไปที่เมนู Tools เลือกUser Tool Groups ไปที่  View เลือกToolbars/Views เลือกUser Toolbar
    3. สร้างโฟลเดอร์ เพื่อบันทึกไฟล์ซอร์สโค้ด เช่น               D:\work
    4. เลือก Directory ในโปรแกรม Editplus ให้ถูกต้อง         เพื่อใช้อ้างอิงในการรันโปรแกรม
    5. ทดสอบโปรแกรม Java โดย ไปที่เมนู File ->                New -> Java
                    5.1 ตั้งชื่อ Class เช่น TestJava
                    5.2 บันทึกไฟล์ชื่อเดียวกับชื่อ Class เช่น                           TestJava.java
                    5.3 เลือก Tools->Compile
                    5.4 เลือก Tools->Run


คลิปสอนการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ตอนที่ 1

คลิปสอนการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ตอนที่ 2